Gripen 39 C/D เครื่องบินขับไล่ความจำเป็นของกองทัพอากาศและเพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ

                การจัดหาซื้อเครื่องบิน  Gripen 39 C/D ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถของกำลังทางอากาศ กองทัพอากาศมุ่งเน้นที่จะสร้างกองทัพอากาศที่มีคุณภาพ โดยให้ความสำคัญกับสมรถนะ ขีดความสามารถ และคุณภาพของกำลังรบมากกว่าปริมาณ กองทัพอากาศได้เสนอความต้องการในการจัดซื้อจัดหาเครื่องบินขับไล่กริพเพน เฟส 2 จำนวน 6 เครื่องซึ่งในระยะที่ 1 เฟตแรก กองทัพอากาศได้จัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ Gripen 39 C/D   ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ก/ข(เอฟ-5 B/E)ฝูงบิน 701 กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ใช้งานมานาน  และจะทยอยปลดประจำการและจะครลกำหนดปลดประจำการทั้งหมดในปี 2554 เนื่องจากขีดความสามารถไม่สามารถรถรองรับความต้องการทางยุทธการ ในการปฏิบัติทางอากาศ   โครงการดังกล่าวเป็นโครงการต่อเนื่องหลังจากที่มีการจัดหามาแล้วจำนวน 6 เครื่องโดยมีมติให้กองทัพอากาศก่อหนี้ผู้พันข้ามปีงบประมาณระหว่างปี 2551-2555 พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์ การฝึกอบรม การปรับปรุงอาคารสถานที่ และการบริหารโครงการ วงเงิน 19,000 ล้านบาท  

ทางกองทัพอากาศจึงได้เชิญสื่อมวลชนทั้งในส่วนกลางจากกรุงเทพมหานครและสื่อมวลชนในท้องที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี พาเยี่ยมชมกิจการของกองบิน 7 จังหวัด สุราษฎร์ธานี ร่วมรับฟังข้อมูลถึงการนำแผนการจัดซื้อเครื่องบินรุ่นกริพเพน หรือ YAS-39 จากประเทศสวีเดน ในระยะที่ 2 หลังจากกองทัพอากาศจัดซื้อไปแล้วในเฟสแรกจำนวน 6 ลำ ในสมัยที่ บิ๊กต๋อย พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข เป็น ผบ.ทบ. โดยได้ พลอากาศโท ประจิน จั่นตอง รองเสนาธิการทหารอากาศ เป็นผู้บอกกล่าวถึงจุดประสงค์ในการพาสื่อมวลชนมาในครั้งนี้ว่า

การพาสื่อมวลชนมาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 2 ประการด้วยกันคือ ประการแรกก็คืออยากจะขอบคุณผู้สื่อข่าวที่ได้ให้การสนับสนุนในการทำข่าวให้กับกองทัพอากาศมาโดยตลอด ซึ่งเป็นประโยชน์กับกองทัพ วัตถุประสงค์ที่สองคือ กองทัพอากาศได้จัดโครงการจัดหาเครื่องบินกริพเพนมาทดแทนเครื่องบินเอฟ 5 ที่สุราษฏร์ธานี ซึ่งต้องการที่จะให้ผู้สื่อข่าวได้เห็นถึงการดำเนินการ ณ กองบิน 7 และจะได้ทราบข้อมูลข้อเท็จจริงที่ยังเป็นข้อห่วงใยอยู่  และเลือกที่จะใช้พื้นที่ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีก็เพราะว่า จังหวัดสุราษฏร์ธานีเป็นจุดยุทศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากสุราษฏร์ธานีนี้นั้นอยู่ทางตอนใต้และฝั่งตะวันออกเป็นอ่าวไทยและทางฝั่งตะวันตกก็เป็นฝั่งอันดามัน ทางใต้ยาวไปจนถึงแหลมมลายู ซึ่งจังหวัดสุราษฎร์ฯเมื่อมีกำลังรบที่มีศักยภาพแล้ว เราก็สามารถปกป้องผลประโยชน์และความมั่นคงทางทะเลทั้งสองฝั่ง นอกจากนั้นเรายังใช้กำลังที่มีอยู่นี้เสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาคร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านได้

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าทางกองทัพอากาศคาดหวังกับการพาสื่อมวลชนมาในครั้งนี้อย่างไรบ้าง ท่านรองประจิน กล่าวว่า ทางกองทัพอากาศต้องการให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข้อเท็จจริง กับสิ่งที่ทางกองทัพอากาศได้ใช้งบประมาณประเทศมาดำเนินการสนามเครื่องบินนั้นมันเป็นอย่างไร  และมีความก้าวหน้าถึงขั้นตอนไหนแล้วบ้าง โดยทางกองทัพอากาศก็ต้องอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ ซึ่งข้อเท็จจรองแล้ว เครื่องบินกริพเพนที่จะมาแทนเอพ 5 ที่สุราษฎร์ ฯ นี้ อยากจะให้ครบ 1 ฝูง ซึ่งในครั้งแรกทางกองทัพอากาศได้ตั้งไว้ว่าทำอย่างไรถึงจะได้ 18 เครื่อง/ฝูง แต่มีมูลค่าค่อนข้างสูงและทางงกองทัพได้พบว่าเครื่องบินกริพเพนมีการพัฒนาและประสิทธิภาพของกริพเพนสามารถที่จะทดแทนในเชิงปริมาณได้ จึงได้ปรับลดจำนวนลงมาเหลือ 12 เครื่อง/ ฝูง ในที่สุด ซึ่งจำนวน 12 เครื่ององก็นับว่าเป็นเกณฑ์ที่ต่ำที่สุดในการที่จะดำรงสภาพความพร้อมในการปฏิบัติการ ในช่วงแรก 6 เครื่องนั้น จะได้รับเครื่องในต้นปี 2554 และสำหรับเฟสที่สองนั้น ทางกองทัพหวังว่าความต่อเนื่องในการที่จะได้รับ 6 เครื่องในชุดที่สอง ไม่น่าจะเกินในปี 2555 โดยขอรับจากงบประมาณในปี 2553 แต่อย่างไรก็ตามด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจ ก็เป็นที่แน่นอนว่าจะยังไม่มีงบประมาณมาดำเนินการในปี 2553 น่าจะเป็นปี 2554 ถ้าปี 2554 แล้วเครื่องก็จะนำมาเพิ่มเติมได้อีก 6 เครื่องในประมาณปี 2556 ซึ่งก็จะเว้นไปประมาณ 2 ปี

 และจากปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้าอาจจะทำให้ความหวังในการรับเครื่องบินกริพเพนในเฟสที่สองนั้น มีความหวังริบหรี่ ทางกองทัพมีการแก้ไขปัญหาในจุนี้ไว้อย่างไรบ้าง ท่านรองได้กล่าวว่า  หากทางกองทัพไม่สามารถรับเครื่องบินเพิ่มได้ตามจำนวนที่ต้องการ จากปัญหาด้านงบประมาณดังกล่าว ทางกองทัพก็จะมองหาวิธีการใหม่ดูว่าจะมีการปรับแผนงานการจัดหาอย่างไร หรืออาจจะดูแลเครื่องบินที่มีอยู่ นำมาเพื่อใช้ทดแทนไปก่อนได้อย่างไร โดยจะนำเครื่องบินเอฟ 5 มาทำการโมดิฟายด์เพื่อการใช้งานทดแทนไปก่อน แต่หากเกิดการชะลอหรือไม่เตรียมการก็จะเป็นผลกระทบระยะยาว เพราะเครื่องเอฟ 5 ใกล้จะหมดระยะเวลาการใช้งานแล้ว

                เครื่องบิน Geipen   เครื่องบิน  Gripen 39 C/D เป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์มีความอ่อนตัวและคล่องตัว สามารถปฏิบัติภารกิจได้หลากหลายรูปแบบในลักษณะ Multi-Role เมื่อประกอบเข้ากับระบบบัญชาการและควบคุม (Command and Control System: C2) ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากการจัดหาในครั้งนี้ กองทัพอากาศสามารถทวีขีดความสามารถจากระบบทั้งหมดที่ได้รับ (System of System) ในลักษณะการทวีกำลัง (Force Multiplier) กล่าวคือ เหมือนมีกำลังน้อยแต่มีกำลังมาก นอกจากนี้กริพเพนยังเป็นเครื่องบินขับไล่สมสมรถนะสูงที่สามารถใช้ระบบอาวุธได้หลากหลายรูปแบบทั้งระบบอาวุธที่ผลิตจากประเทศสหรัฐฯ และระบบอาวุธที่ผลิตจากประเทศในสหภาพยุโรป สำหรับเครื่องบินกริพเพน  39 C/D ของกองทัพอากาศ วางแผนที่จะใช้ระบบอาวุธที่มีประจำการอยู่ในปัจจุบันเป็นหลัก เช่น AIM-120 AMRAAM, AIM-9M Sidewinder, Precision Bomb (GBU-10/12) และ AGM-65 Maverick  ในส่วนของระบบอาวุธพิเศษที่จำเป็นต้องจัดหาเพิ่มเติม กองทัพอากาศได้วางแผนในการจัดหาเพิ่มเติมในแผนพัฒนาขีดความสามารถกำลังรบแล้ว สำหรับจรวดโจมตีเรือผิวน้ำ RBS-15 กองทัพอากาศจะได้รับในการจัดหาเครื่องบิน Gripen 39 C/D ระยะที่ 2 นอกเหนือจากระบบอาวุธข้างต้นแล้ว เครื่องบินกริพเพนยังสามารถที่จะติดตั้งใช้งานระบบอาวุธอากาศ-อากาศสมัยใหม่ทั้ง IRIS-T และ Meteor ซึ่งมีขีดความสามารถสูงกว่าระบบอาวุธที่กองทัพอากาศมีใช้งานในปัจจุบัน อีกทั้งกริพเพน เป็นเครื่องบินที่มีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่ำ คือเป็นครึ่งหนึ่งของ F-16 ใช้ทางวิ่งขึ้นสั้น (800 เมตร) และสามารถบินขึ้นและลงจอดบนท้องถนนหลวงได้  โดย Gripen 39 C/D เป็นแบบที่ได้รับการปรับปรุง แล้วจาก Gripen A/B เป็นรุ่นสองที่นั่ง และการปรับปรุงนี้คือการเพิ่มระบบการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ การเข้ากันได้กับมาตรฐานนาโต้ จอแสดงผลในห้องนักบิน ที่แสดงผลได้ชัดเจนในเวลากลางคืน 

 จากเหตุผลดังกล่าว ประกอบกับข้อจำกัดด้านงบประมาณ กองทัพอากาศวางแผนที่จะบรรจุเครื่องบิน กริพเพน จำนวน 12 เครื่อง ณ ฝูงบิน 701 กองบิน 7 โดยมีภารกิจหลัก ประกอบด้วย การป้องกันทางอากาศ การสนับสนุนการปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพอื่น และการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ทั้งนี้ทางกองทัพมุ่งเน้นที่จะเสริมสร้างและพัฒนาให้เครื่องบินกริพเพนที่จะบรรจุเข้าประจำการ มีระบบอาวุธและเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถปฏิบัติภารกิจทุกรูปแบบได้อย่างเต็มขีดความสามารถ ไม่มีข้อจำกัดใดๆ อันเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถของกำลังทางอากาศ ณ ปัจจุบัน ประเทศที่ใช้เครื่องบินขับไล่ Gripen 39 มี สวีเดนสั่งซื้อเข้าประจำการกว่า 200 ลำ ทั้งรุ่น A/B และ C/D แต่เนื่องจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้มีการลดจำนวนการประจำการลงเหลือ 100 ลำ โดยจะปรับปรุงรุ่น A/B จำนวน 31 ลำให้เป็นมาตราฐานรุ่น  C/D และขายเครื่องที่เหลือให้กับลูกค้าต่างประเทศที่สนใจ   แอฟริกาใต้สั่งซื้อเข้าประจำการ 28 ลำ ในปี 2542 โดยแอฟริกาใต้ร่วมทำการวิจัยละพัฒนาเครื่องร่วมกับสวีเดนและรับเครื่องไปแล้วเมื่อ พ.ศ.2551  ฮังการี เช่าซื้อจำนวน 14 ลำในปี พ.ศ.254 โดยเมื่อหมดสัญญาเช้า 10 ปีแล้วเครื่องบินจะเป็นกรรมสิทธิ์ของฮังการีโดยถาวร สาธารณรัฐเช็ก เช่า 14 ลำในปี พ.ศ.2547 และเช็กกำลังตัดสินใจว่าจะซื้อเครื่องเป็นกรรมสิทธิ์หลังจากหมดสัญญาเช่าในเวลา 1 ปีหรือไม่ ประเทศไทย กองทัพอากาศไทยสั่งซื้อจำนวน 6 ลำในล็อตแรก 6 ลำ จะทำการส่งมอบในปี พ.ศ.2554

ในส่วนของการส่งมอบ ในการดำเนินการจัดหาฯ ระยะที่ 1 กองทัพอากาศจะได้รับเครื่องบิน Gripen 39 C/D จำนวน 3 เครื่องในเดือนมกราคม พ.ศ.2554 และอีก 3 เครื่องในเดือนมีนาคม พ.ศ.2554 โดย FWV และกองทัพอากาศสวีเดนจะเป็นผู้รับผิดชอบในการส่งมอบเครื่องบินดังกล่าวในประเทศไทย

นอกจากนี้ กองทัพอากาศจะได้รับมอบเครื่องบิน Saab 340 B จำนวน 1 เครื่องและเครื่องบิน Saab 340 AEW จำนวน 1 เครื่อง โดยจะทำการส่งมอบ ณ ประเทศสวีเดนในช่วงปลาย พ.ศ.2553 และนักบินของกองทัพอากาศไทยจะเป็นผู้ทำการบินทั้ง 2 เครื่องกลับประเทศไทย โดยกองทัพอากาศจะได้รับการสนับสนุนนักบินที่มีประสบการณ์จากกองทัพอากาศสวีเดนในการนำเครื่องทั้งสองกลับสู่ประเทศไทย โดยคาดว่าจะเดินทางถึงประเทศไทยในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2553 สำหรับระบบบัญชาการและควบคุมที่กองทัพอากาศจะได้รับตามโครงการจัดหาฯ ระยะที่ 1 เจ้าหน้าที่จากสวีเดนจะดำเนินการติดตั้งระบบดังกล่าวในประเทศไทย ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม พ.ศ.2554

และจากการเข้าเยี่ยมชมกองบิน 7 ในครั้งนี้ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์  นาวาอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์   ผู้บังคับกองบิน 7 โดยได้สอบถามถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดซื้อตามโครงการนี้ ได้แก่ ได้รับเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ Gripen 39 C/D  จำนวน 6 เครื่องทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบ F-5 ทันตามความต้องการทางยุทธการ ได้รับขีดความสามารถในการตรวจจับอากาศยานและเป้าหมายภาคพื้นดินและพื้นน้ำ รวมทั้งระบบบัญชาการการควบคุม นำไปสู่การพัฒนาบุคลกรให้มีความรู้ความสามารถในเทคโนโลยีสมัยใหม่ และสามารถนำมาพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีที่ได้รับจากการจัดซื้อตามโครงการนี้ จะเป็นแรงขับเคลื่อนกองทัพอากาศ และกองทัพไทย ให้มีขีดความสามารถเพียงพอ และเท่าทันเทคโนโลยีเพื่อปกป้องอธิปไตยและรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติ ตัวกริพเพนเองนั้น ทางสวีเดนได้พัฒนาเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อเครื่องบินในฝูงเป็นเครือข่าย โดยติดตั้งระบบ Data Link หรือระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องบินกับเครื่องบิน และเครื่องบินกับพื้นดิน ซึ่งถือเป็นเครื่องบินแบบแรกที่มีระบบนี้ โดยก่อนบินนักบินสามารถใส่โปรแกรมการบิน ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนกับทั้งเครื่องบินด้วยกันเองและภาคพื้น ในระหว่างปฏิบัติภารกิจเป็นหมู่ JAS 39 Gripen สามารถเปิดเรดาห์เพียงเครื่องเดียวเพื่อลดการตรวจจับแต่สามารถส่งข้อมูลของเป้าหมายให้กับเครื่องบินอื่นๆ ในหมู่บินได้ ดังนั้นเครื่องบินที่ไม่ได้เปิดเรดาห์จึงสามารถเข้าโจมตีได้โดยที่ถูกตรวจจับได้ยากและข้าศึกไม่รู้ตัว ซึ่งระบบนี้สวีเดนเป็นชาติแรกที่พัฒนาซึ่งคล้ายกับระบบที่ติดตั้งในเครื่องบิน F-22 ของสหรัฐ ผู้บังคับการกองบิน 7 กล่าว

ในเรื่องของการอบรมนักบินนั้นตามโครงการจัดหาฯ ระยะที่ 1 เจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศจะได้รับการฝึกอบรม

 


Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...